กล่องข้อความ: 		7-50100-001-209  		  ชื่อพื้นเมือง	:  สัก  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Tectona grandis L.f.  ชื่อวงศ์	:  LAMIACEAE  ชื่อสามัญ	:  Teak  ประโยชน์

ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะพิเศษของพืช : ให้ร่มเงา, ไม้ใช้สอย
บริเวณที่พบ : หอประชุม 1 อาคารวัฒนา
ลักษณะทั่วไป :
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน
ต้น :
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน สูงได้ถึง 30 เมตร เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นเล็ก ๆ สีเทา
โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลุ่ม
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีกว้าง 20 - 30 ซม. กว้างเกือบเท่าความยาวต้นเล็กจะมีใบขนาดใหญ่มาก โคนใบมนปลายใบแหลม เนื้อใบสากคายมีสีเขียวเข้ม ด้านหลังใบสีอ่อนกว่า
ดอก : ดอกเป็นช่อใหญ่ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวนวลเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ร่วงง่าย มีเกสรผู้ 5 อัน
ผล : ผลสดรูปค่อนข้างกลม มีขนละเอียดหนาแน่น หุ้มมิดด้วยกลีบเลี้ยงที่ขยายตัว ผลแห้งเป็นกระเปาะค่อนข้างกลม วัดเส้น ผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 2 ซม. เปลือกแข็งภายในโปร่งมีเมล็ด 1 - 3 เมล็ด
ประโยชน์
      
แก่น ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ไข้
       เปลือกต้น เป็นยาคุมธาตุ
       แก่นและใบ ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ รักษาเบาหวาน ปัสสาวะกะปริบกระปรอยหรือขุ่นข้น และไตพิการ
       แก่นผสมกับรากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ ต้นกำแพงเจ็ดชั้นต้นหัวร้อยภูและหญ้า ชันกาดทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน         
       งานก่อสร้าง ไม้สักเป็นเนื้อไม้ที่ทนทานสวยงาม นิยมใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ แกะสลักเครื่องมือ กสิกรรม เครื่องเรือน
เนื่องจากลักษณะเนื้อไม้สีเหลืองอมน้ำตาลมักมีเส้นแก่แทรก ตบแต่งได้สวยงาม แมลงไม่ชอบกัดแทะ

ลักษณะวิสัย
ลำต้น


กลับหน้าหลัก
ท้องใบ
ใบ

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้    สัก    รหัสพรรณไม้   7-50100-001-209